วันจันทร์ที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

อาหารชูกำลังสำหรับพืช(สูตรเข้มข้น)

พืช จะได้รับธาตุคาร์บอนและออกซิเจนเกือบทั้งหมดที่พืชต้องการจากอากาศโดยตรง โดยคาร์บอนเข้าสู่พืชโดยตรงจากทางปากใบ (Stomata) ในรูปกาซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) และได้รับออกซิเจนในรูปกาซออกซิเจน (O2) ทางปากใบและที่ผิวของราก สำหรับไฮโดรเจน(H)นั้นพืชได้รับไฮโดรเจนอะตอมจากโมเลกุลของน้ำในขบวนการสังเคราะห์แสง
• เนื่องจาก ธาตุทั้ง 3 มีอยู่อย่างเหลือเฟือในสภาพธรรมชาติ จึงทำให้นักวิทยาศาสตร์มีความสนใจน้อยกว่าธาตุอาหารพืชอื่นๆ อีก 13 ธาตุ ที่พืชได้รับจากดินหรือกำเนิดจากดิน เนื่องจากปริมาณที่พืชได้ รับมักไม่เพียงพอกับความต้องการ โดยมีความรุนแรงในการขาดธาตุอาหารเหล่านี้แตกต่างกันไปตามแต่สภาพของวัตถุต้นกำเนิดดิน และสภาพการใช้พื้นที่
• โดยธาตุทั้ง 13 ชนิดนั้นจะแบ่งออก
เป็น 2 กลุ่มใหญ่ๆ ได้แก่
1) ธาตุอาหารที่พืชต้องการเป็นปริมาณมาก (Macronutrient elements) ได้แก่ ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส โพแทสเซียม แคลเซียม แมกนีเซียม และ กำมะถัน

• 2) ธาตุอาหารที่พืชต้องการเป็นปริมาณน้อย (Micronutrient elements) ได้แก่ เหล็ก สังกะสี ทองแดง โบรอน โมลิบดินัม และคลอรีน
ธาตุอาหารพืชแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม
ไนโตรเจน N• ทำให้พืชมีสีเขียว
• เร่งการเจริญเติบโต
• เพิ่มผลผลิต
ฟอสฟอรัส P• ช่วยทำให้มีรากมาก
• ควบคุมการออกดอกและผล
โปรแตสเซียม K
• ช่วยทำให้ต้นแข็งแรง
• ทำให้ผลผลิตมีคุณภาพดี
• 1) ไนโตรเจน
อาการขาด : การเจริญเติบโตจะหยุดชะงัก และใบมีสีเหลืองซีดจากการขาดคลอโรฟิลล์ โดยเฉพาะบริเวณใบแก่ ใบอ่อนจะยังคงมีสีเขียวนานกว่า ในพืชพวกข้าวโพดและมะเขือเทศ ลำต้น ก้านใบ ผิวใบด้านล่างเปลี่ยนเป็นสีม่วงได้

• 2) ฟอสฟอรัส
อาการขาด : พืชจะแคระแกร็นและมีสีเขียวเข้ม มีการสะสมสารสีของแอนโทไซยานิน อาการขาดเบื้องต้นจะเกิดในใบแก่และทำให้พืชแก่ช้า

• 3) โพแทสเซียม
อาการขาด : ในเบื้องต้นสังเกตได้ที่ใบแก่ในพืชใบเลี้ยงคู่ ใบจะมีสีซีด ในระยะต่อมาจะพบจุดสีเข้มที่เนื้อใบตายกระจายเป็นจุด ในพืชใบเลี้ยงเดี่ยวหลายชนิดบริเวณปลายใบและ
เส้นใบ จะตายก่อน อาการขาดโพแทสเซียมในข้าวโพด ลำต้นจะอ่อนแอ

• 4) กำมะถัน
อาการขาด : ไม่ค่อยจะพบมากนัก แต่ถ้าเกิดอาการขาดโดยทั่วไปใบมักจะมีสีเหลือง โดยเกิดที่ใบอ่อนก่อน
5) แมกนีเซียม
อาการขาด : เกิดอาการซีดในพื้นที่ใบที่อยู่ระหว่างเส้นใบ ในขณะที่เส้นใบยังคงเขียวอยู่ อาการซีดจะเกิดที่ใบพื้นที่บริเวณใกล้เส้นกลางใบก่อนแล้วลามไปที่ปลายใบ โดยเกิดใน ใบแก่ก่อน

• 6) แคลเซียมอาการขาด : การพัฒนาของตายอดจะชะงักการเจริญเติบโต และปลายรากจะตาย จะเกิดในใบอ่อนก่อนใบแก่ และเส้นใบจะบิดเบี้ยว มีจุดแห้งตายของใบ
7) เหล็กอาการขาด : อาการซีดคล้ายกับอาการขาดแมกนีเซียมแต่เกิดขึ้นในใบแก่

• 8) คลอรีนอาการขาด : ใบมีอาการเหี่ยวแล้วค่อย ๆเหลืองแล้วตายเป็นลำดับหรือบางครั้งมีสีบรอนด์เงินรากจะค่อยแคระแกรนและบางลงใกล้ปลายราก

• 9) แมงกานีส
อาการขาด : อาการแรกมักจะซีดตรงระหว่างเส้นใบในใบอ่อนหรือแก่ขึ้นอยู่กับชนิดพืชแผลเนื้อเยื่อตายและใบร่วงในเวลาต่อมา คลอโรพลาสต์ไม่ทำงาน

• 10) โบรอน
อาการขาด : อาการผันแปรตามชนิดของพืชลำต้นเนื้อเยื่อเจริญปลายรากมักตาย ปลายรากมักบวมมีสีซีดในเนื้อเยื่อพืชมักมีสีซีดไม่ทำงาน(โรคใบเน่าของพีท) ส่วนใบแสดงอาการต่าง ไปประกอบด้วยใบบาง แตกง่าย(ผุ)ใบหงิก เหี่ยวเฉาและเป็นจุดสีซีด

• 11) สังกะสี
อาการขาด : ข้อปล้องของพืชสั้นและขนาดของใบเล็ก เส้นใบมักปิดหรือย่นบางครั้งซีดระหว่างใบ

• 12) ทองแดงอาการขาด : การขาดทองแดงในสภาพธรรมชาติหายากใบอ่อนมีสีเขียวแก่และปิดหรือผิดรูปไปและมักพบจุดแผลตายบนใบ

• 13) โมลิดีนัมอาการขาด : สีซีดในพื้นที่ระหว่างเส้นกลางใบหรือทั้งเส้นกลางใบในใบแก่ คล้ายกับอาการขาดไนโตรเจนบางครั้งแกนใบไหม้เกรียม


อาหารชูกำลังสำหรับพืช(สูตรเข้มข้น)เหมาะสำหรับพืชทุกชนิด ประกอบด้วยสารอินทรีย์เร่งการเจริญเติบโตและสารชีวภาพสกัดจากธรรมชาติ100%


อุดมด้วยธาตุหลัก ธาตุรอง ธาตุเสริม• ฮิวมิกซ์แอซิด 5.00 % น้ำตาลโมเลกุลเดี่ยวกลูโคส 10.00%
• กรดอมิโนอิสระ18ชนิด 5.00% น้ำตาลโมเลกุลเดี่ยวเด็กซ์โตส 12.50%
• วิตามินบี(B-Group) 0.50% น้ำตาลโมเลกุลเดี่ยวฟลักโตส 15.00%
• โปรตีน 3% ธาตุสังกะสี 2.00%
• เอนไซม์ 2.50% ธาตุแมงกานีส 1.50%
• ธาตุแคลเซียม 3.00% ธาตุโมลิบดินัม 0.5%
• ธาตุแมกนีเซียม 2.50% ธาตุกำมะถัน0.50%
• ธาตุแดง 1.0% ธาตุนิเกิล 0.10%
• ธาตุเหล็ก1.5% ธาตุโบรอน 1.00%


                           เพลง อาหารชูกำลังพืชโสมแดง




โสมๆๆแดง โสมๆๆแดง


พืชพันธุ์เจริญ เมื่อเติมโสมแดงประจำ
• เติบโตงอกงาม ชาวไร่ก็พลอยชื่นใจ
• พืชพันธุ์เจริญ เมื่อเติมโสมแดงลงไป
• เป็นสมุนไพร ที่ทำให้พืชแข็งแรง
• โสมแดงสกัด จัดมาให้ พันธุ์พืชไทย
• เป็นสมุนไพร ที่ทำให้พืชแข็งแรง
• โสมแดงสกัด เพื่อพันธุ์พืชทุกๆแห่ง
• แค่เติมโสมแดง ต้นไม้งอกงามไปหมด


วิธีใช้ เพื่อสร้างออกซิเจนและปรับปรุงสภาพดิน อัตราใช้ 1 ลิตร ผสมน้ำ 1,000 ลิตร ฉีดพ่นหน้าดินให้ทั่วพื้นที่ 1 ไร่

เพื่อช่วยเพาะเมล็ดพันธุ์ อัตราใช้ 20ซีซี ผสมน้ำ 1 ลิตร แช่เมล็ดพันธุ์ 12-24 ชั่วโมง ก่อนนำไปเพาะช่วยเพิ่มอัตรางอก

เพื่อช่วยขยายพันธุ์ 40ซีซี ผสมน้ำ 20 ลิตร แช่ส่วนที่นำไปปักชำหรือขยายพันธุ์ 1-3 ชั่วโมง เพื่อช่วยเพิ่มการแตกราก กระตุ้นการเจริญเติบโต

ไม้ยืนต้น 20-30 ซีซี ผสมน้ำ 20 ลิตร ราดโคนต้น หรือ ฉีดพ่นให้ทั่วใบ ทุก 7-10 วัน
ไม้ผล 15-20 ซีซี ผสมน้ำ 20 ลิตร ราดโคนต้น หรือ ฉีดพ่นให้ทั่วใบ ทุก 7-10 วัน
พืชไร่ 20-30 ซีซี ผสมน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นให้ทั่วใบและลำต้น ทุก 7-10 วันพืชสวน 20-30 ซีซี ผสมน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นให้ทั่วใบและลำต้น ทุก 7-10 วัน ไม้ดอกไม้ประดับ 10-15 ซีซี ผสมน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นให้ทั่วต้น ทุก 7-10 วันเพื่อช่วยเก็บรักษาเมล็ดพันธุ์ 100 ซีซี ต่อน้ำสะอาด 1 ลิตร ชุบเคลือบให้ทั่วเมล็ด แล้วปล่อยให้แห้งสนิทช่วยป้องกันแมลงและเชื้อรา
เพื่อรักษารอยและแผลลำต้น 20 ซีซี ผสมน้ำ 10 ลิตร ใช้แปรงทาให้ทั่วรอยและแผลของลำต้น
นาข้าว 50 ซีซี ผสมน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นครั้งแรกพร้อมยาคลุมหญ้า
ฉีดพ่นครั้งที่ 2 เมื่อข้าวอายุ 1 เดือน
ฉีดพ่นครั้งที่ 3 เมื่อข้าวอายุ 2 เดือน
ฉีดพ่นครั้งที่ 4 เมื่อข้าวเริ่มตั้งท้อง
ฉีดพ่นครั้งสุดท้าย ตอนข้าวออกรวง ( เป็นหางปลาทู หรือ ตากดอก ) ช่วยทำให้เมล็ดเต่งตึง มีน้ำหนัก ป้องกันเชื้อราและศัตรูพืช

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น