วันศุกร์ที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2553

การทำนาดำ

จัดการเมล็ดพันธุ์ เกษตรกรต้องคำนวณปริมาณเมล็ดพันธุ์ต่อพื้นที่ปลูกอัตรา 5 กิโลกรัมต่อพื้นที่ปลูก 1 ไร่ซึ่งเป็นอัตราแนะนำ และตกกล้าโดยใช้อัตราเมล็ดพันธุ์ 50 กรัมต่อพื้นที่แปลงกล้า 1 ตารางเมตร การตกกล้า เริ่มจากนำเมล็ดพันธุ์มาทำการคัดแยกสิ่งเจือปนและเมล็ดลีบออก จากนั้นนำเมล็ดไปตากแดด 2-3 แดด เพื่อปรับสภาพเมล็ดให้มีอุณหภูมิสม่ำเสมอกันและยังเป็นตัวเร่งอัตราการดูดซับน้ำของเมล็ดให้ดียิ่งขึ้น แล้วจึงนำเมล็ดข้าวไปแช่น้ำและกำจัดเมล็ดข้าวไม่สมบูรณ์อีกครั้งนึ่งเนื่องจากการแช่เมล็ดในน้ำเมล็ดที่ไม่สมบูรณ์จะลอยอยู่ด้านบน ซึ่งขณะที่ทำการฝัด เมล็ดที่แมลงเพิ่งเจาะกินเล็กน้อยเวลาฝัดจะไม่กระเด็นออกไปแต่เมื่อแช่ในน้ำเมล็ดเหล่านี้จะลอยอยู่ระดับน้ำด้านบน ควรตักทิ้งไป เพื่อกระตุ้นการงอกของเมล็ด ทำการแช่น้ำ12-24 ชั่วโมง จากนั้นนำขึ้นมาหุ้มโดยการนำกระสอบข้าววางบนแคร่ที่มีการระบายน้ำและอากาศถ่ายเทได้ ใช้กระสอบป่านชุบน้ำปิดทับทิ้งไว้ 36-38 ชั่วโมงหรือเมื่อเมล็ดข้าวเริ่มมีรากยาว 1-2มิลลิเมตร จึงนำไปหว่านลงแปลง

การใส่ปุ๋ยต้นกล้า
การใส่ปุ๋ยต้นกล้าที่เหมาะสมควรใช้มูลสัตว์หรือปุ๋ยคอกในอัตรา 500 กรัม (น้ำหนักแห้ง) ร่วมกับปุ๋ย 16-20-0 อัตรา 10กรัม ผสมสาร ที-เอส-3000 1-2 ขีด ต่อพื้นที่ 1 ตารางเมตร หว่านรองพื้นก่อนหว่านเมล็ดพันธุ์ 1 วัน
ต้นกล้าในระยะ 10–15 วันให้ใช้ปุ๋ยสูตร 16-20-0 ผสมสาร ที-เอส-3000 ในอัตรา 1 ต่อ 5 หมายถึง ที-อส-3000 1ส่วน ปุ๋ย เคมี 5 ส่วน อัตราการใช้ประมาณ 10-20 กก. ต่อไร่
- ที-เอส-3000 จะทำให้ต้นกล้าแข็งแรง กระตุ้นระบบรากทำให้ถอนต้นกล้าง่ายขึ้นและไม่ซ้ำเวลาปักดำตั้งตัวได้เร็ว ไม่ควรใช้ปุ๋ย 46-0-0 กับต้นกล้า เพราะจะทำให้เป็นโรคง่ายและต้นกล้าไม่แข็งแรงทำให้ฟื้นตัวได้ช้า

ระยะหลังปักดำ
ให้ใช้ปุ๋ยสูตร 16-20-0 หรือ 16-16-8 อัตรา 50 กก.ผสม สาร ที-เอส-3000 15 กก. หว่านในอัตรา15 -20 กก. ต่อไร่ หลังจากหว่านปุ๋ยประมาณ 5 -7วัน ให้ฉีดพ่นด้วย ไฮ-แม็ก ในอัตรา 4 -5 ช้อนแกง ผสมน้ำ 20 ลิตรฉีดพ่นในช่วงเย็น

ระยะข้าวแตกกอ
ในระยะแตกกอ ให้ใช้ปุ๋ยสูตร 20-20-0 หรือ 18-22-0 อัตรา 50 กก.ผสมสาร ที-เอส-3000 15กก.หว่านในอัตรา 10-15 กก. ต่อไร่ หลังจากหว่านปุ๋ยประมาณ 5 -7วัน ให้ฉีดพ่นด้วย ไฮ-แม็ก ในอัตรา 4 -5 ช้อนแกงผสมน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นในช่วงเย็น

ระยะเริ่มตั้งท้อง
ใช้ปุ๋ย สูตร 13-13-21 สลับ 15-15-15 หรือให้ผสมกันในอัตราอย่างละเท่ากันผสมสารที-เอส-3000ในอัตรา 15 กก.ต่อปุ๋ยเคมี 50 กก. หว่านในอัตรา 15-25 กก.ต่อไร่ หลังจากหว่านปุ๋ยประมาณ 5 -7วัน ให้ฉีดพ่นด้วย ไฮ-แม็ก ในอัตรา 4 -5 ช้อนแกง ผสมน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นในช่วงเย็น ในการฉีดพ่นทางใบในช่วงข้าวเริ่มตั้งทองควรทำให้เป็นละอองมากที่สุด

การทำนาหว่าน
เป็นการปลูกข้าวโดยการหว่านเมล็ดลงไปในนาที่เตรียมพื้นที่ไว้แล้วโดยตรง เป็นวิธีการที่นิยมมากขึ้นในปัจจุบัน เนื่องจากประหยัดแรงงานและเวลา การทำนาหว่าน แบ่งเป็น 2 วิธี คือ1. นาหว่านข้าวแห้ง 2 นาหว่านข้าวงอกหรือหว่านตม

1.นาหว่านข้าวแห้ง เป็นการหว่านเมล็ดข้าวเพื่อคอยฝน และมีชื่อเรียกปลีกย่อยไปตามวิธีปฏิบัติ คือ - การหว่านสำรวย เป็นการหว่านในสภาพดินแห้ง เนื่องจากฝนยังไม่ตก โดยหลังจากการไถแปรครั้งสุดท้ายแล้วหว่านเมล็ดข้าวลงไปโดยไม่ต้องคราดกลบ เมล็ดจะตกลงไปอยู่ในระหว่างก้อนดิน เมื่อฝนตกลงมาเมล็ดข้าวจะงอกขึ้นมาเป็นต้น - การหว่านหลังขี้ไถ เป็นการหว่านในสภาพที่มีฝนตกลงมา และน้ำเริ่มจะขังในกระทงนา เมื่อไถแปรแล้วก็หว่านเมล็ดพันธุ์ข้าวตามหลัง แล้วคราดกลบทันที การเตรียมเมล็ดพันธุ์ ตรวจความบริสุทธิ์ของเมล็ดพันธุ์ ไม่มีโรคหรือแมลงทำลาย
- การทดสอบความงอก โดยการนำเมล็ดข้าว จำนวน 100 เมล็ด มาเพาะเพื่อดูเปอร์เซ็นต์ ความงอก อาจทำ 3-4 ซ้ำเพื่อความแน่นอน เมื่อรู้ว่าเมล็ดงอกกี่เปอร์เซ็นต์จะได้กะปริมาณพันธุ์ข้าวที่ใช้ได้ถูกต้อง

การใส่ปุ๋ย
วิธีที่ 1. หลังทำการหว่านเมล็ดข้าวเสร็จให้ใช้ปุ๋ยสูตร 46-0-0 ในอัตรา 50 กก. ผสมสาร ที-เอส-3000 ในอัตรา 15 กก. คลุกเคล้าให้เข้ากันนำไปหว่านในอัตราประมาณ 15-25 กก/ไร่หลังจากนั้นให้ทำการไถกลบหรือคราดกลบปุ๋ยยูเรีย 46-0-0 เมื่อไม่โดนน้ำจะเป็น ยูเรีย เหมือนเดิม แต่เมื่อโดนน้ำจึงจะเปลี่ยนสถานะเป็น ไนเตรท (ทีมาของการทดลอง : เกษตรกรประเทศญี่ปุ่น)หลังจากต้นข้าวมีอายุได้ประมาณ 30 วัน ให้ฉีดพ่นปุ๋ยทางใบด้วย ไฮ-แม็ก ผสมน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นในช่วงเย็น ในเวลาที่อากาศไม่ร้อน หลังจากนั้นให้ฉีดพ่นทางใบอีก2 ครั้งเมื่อข้าวอายุประมาณ 45วันและ 65 วันหลังการเก็บเกี่ยวข้าวจะไม่เฝือใบและไม่มีเมล็ดลีบข้าวน้ำหนักดี

การใส่ปุ๋ย
วิธีที่ 2.ระยะหลังข้าวงอก ให้ใช้ปุ๋ยสูตร 16-20-0 หรือ 16-16-8 อัตรา 50 กก.ผสม สาร ที-เอส-3000 15กก. หว่านในอัตรา 15 -20 กก. ต่อไร่หลังจากหว่านปุ๋ยประมาณ 5 -7วันให้ฉีดพ่นด้วย ไฮ-แม็ก ในอัตรา4 -5 ช้อนแกง ผสมน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นในช่วงเย็น ระยะข้าวแตกกอ ในระยะแตกกอ ให้ใช้ปุ๋ยสูตร 20-20-0 หรือ 18-22-0 อัตรา 50กก.ผสมสาร ที-เอส-3000 15 กก.หว่านในอัตรา 10-15 กก. ต่อไร่ หลังจากหว่านปุ๋ยประมาณ 5 -7วัน ให้ฉีดพ่นด้วย ไฮ-แม็ก ในอัตรา 4 -5 ช้อนแกงผสมน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นในช่วงเย็น ระยะเริ่มตั้งท้องใช้ปุ๋ย สูตร 13-13-21 สลับ 15-15-15 หรือให้ผสมกันในอัตราอย่างละเท่ากันผสมสารที-เอส-3000ในอัตรา 15 กก.ต่อปุ๋ยเคมี 50 กก. หว่านในอัตรา15-25 กก.ต่อไร่ หลังจากหว่านปุ๋ยประมาณ 5 -7วัน ให้ฉีดพ่นด้วย ไฮ-แม็ก ในอัตรา 4 -5 ช้อนแกงผสมน้ำ20ลิตรฉีดพ่นในช่วงเย็นในการฉีดพ่นทางใบในช่วงข้าวเริ่มตั้งทองควรทำให้เป็นละอองมากที่สุด

2. นาหว่านข้าวงอก หว่านน้ำตมหรือหว่านเพาะเลย โดยการนำเอาเมล็ดพันธุ์ข้าวที่ถูกเพาะให้งอก มีขนาดตุ่มตา(มีราก ประมาณ 1-2 มิลลิเมตร) แล้วจึงหว่านลงในกระทงนา ซึ่งมีการเตรียมดินจนเป็นเทือก แยกเป็น
- การหว่านหนีน้ำ ทำในนาน้ำฝน เนื่องจากการหว่านข้าวแห้งหรือทำการตกกล้าไม่ทัน เมื่อฝนมามาก หลังจากเตรียมดินเป็นเทือกดีแล้ว ก็หว่านข้าวที่เพาะจนงอก ลงไปในกระทงนาที่มีน้ำขังอยู่มากจึงเรียกว่า นาหว่านน้ำตม
- นาชลประทาน หรือนาในเขตที่มีแหล่งน้ำอุดมสมบูรณ์ การทำนาในสภาพนี้มักจะให้ผลผลิตสูง หลังจากเตรียมดินเป็นเทือกดีแล้วระบายน้ำออกหรือให้เหลือน้ำขังบนผืนนาน้อยที่สุด นำเมล็ดพันธุ์ข้าวที่งอกขนาดตุ่มตาหวานลงไป แล้วคอยดูแลควบคุมการให้น้ำ มักจะเรียกการทำนาแบบนี้ว่าการทำนาน้ำตมแผนใหม่

การทำนาหว่านน้ำตม
การทำนาหว่านน้ำตมที่จะให้ได้ผลดีนั้น จะต้องปรับพื้นที่นาให้สม่ำเสมอ มีคันนาล้อมรอบและสามารถควบคุมน้ำได้ การเตรียมดินก็ปฏิบัติเช่นเดียวกับการเตรียมดินในนาดำ หลังการเก็บเกี่ยวข้าวแล้ว ควรปล่อยให้เมล็ดข้าวที่ร่วงหล่นในนามีเวลางอกเป็นต้นข้าว เพื่อลดปัญหาข้าวเรื้อ หรือข้าววัชพืชในนา แล้วจึงไถดะ แล้วปล่อยน้ำเข้าพอให้ดินชุ่มอยู่เสมอ ประมาณ 5-10 วัน เพื่อให้เมล็ดวัชพืช งอกขึ้นมาเป็นต้นอ่อนเสียก่อนจึงปล่อยน้ำเข้านา แล้วทำการไถแปรและคราด หรือใช้ลูกทุบตี จะช่วยทำลายวัชพืชได้ หากทำเช่นนี้ 1-2 ครั้ง หรือมากกว่านั้น โดยทิ้งระยะห่างกันประมาณ 4-5วัน หลังจากไถดะไถแปร และคราดเสร็จเรียบร้อยแล้ว ขังน้ำไว้ประมาณ 3 สัปดาห์ เพื่อให้ลูกหญ้าที่เป็นวัชพืชน้ำ เช่น ผักตบ ขาเขียด ทรงกระเทียม ผักปอดและพวกกกเล็ก เป็นต้น งอกเสียก่อน จึงคราดให้ละเอียดอีกครั้งหนึ่ง ลูกหญ้าจะหลุดลอยไปติดคันนาใต้ทางลม ก็จะสามารถช้อนออกได้หมด เป็นการทำลายวัชพืชวิธีหนึ่ง เมื่อคราดแล้วจึงระบายน้ำออกและปรับเทือกให้สม่ำเสมอ สำหรับผู้ที่ใช้ลูกทุบหรืออีขลุก ย่ำฟางข้าวให้จมลงไปในดินแทนการไถ หลังจากย่ำแล้วควรเอาน้ำแช่ไว้ ให้ฟางเน่าเปื่อยจนหมดความร้อนเสียก่อน อย่างน้อย 3 อาทิตย์ แล้วจึงย่ำใหม่ เพราะแก๊สที่เกิดจากการเน่าเปื่อยของฟางจะเป็นอันตรายต่อต้นข้าว จะทำให้รากข้าวดำไม่สามารถหาอาหารได้ หลังจากนั้นจึงระบายน้ำออกเพื่อปรับเทือก การปรับพื้นที่นาหรือการปรับเทือกให้สม่ำเสมอ จะทำให้ควบคุมน้ำได้สะดวก การงอกของข้าวดีเติบโตสม่ำเสมอ เพราะเมล็ดข้าวมักจะตายถ้าตกลงไปในแอ่งหรือหลุมที่มีน้ำขัง เว้นแต่กรณีดินเป็นกรดจัดละอองดินตกตะกอนเร็วเท่านั้นที่ต้นข้าวสามารถขึ้นได้ แต่ถ้าแปลงใหญ่เกินไปจะทำให้น้ำเกิดคลื่น ทำให้ข้าวหลุดลอยง่าย และข้าวรวมกันเป็นกระจุก ไม่สม่ำเสมอ นอกจากนั้นการปรับพื้นที่ให้สม่ำเสมอ ยังช่วยควบคุมการงอกของเมล็ดวัชพืช ซึ่งเป็นปัญหาสำคัญของการทำนาหว่านน้ำตมอีกด้วย การปรับพื้นที่ทำเทือก ควรทำก่อนหว่านข้าวหนึ่งวัน เพื่อให้ตะกอนตกดีเสียก่อน แล้วแบ่งกระทงนาออกเป็นแปลงย่อยๆ ขนาดกว้าง 3-5 เมตร ยาวตามความยาวของกระทงนา ทั้งนี้แล้วแต่ความสามารถของคนหว่าน ถ้าคนหว่านมีความชำนาญอาจแบ่งให้กว้าง การแบ่งอาจใช้วิธีแหวกร่อง หรือใช้ไหกระเทียมผูกเชือกลากให้เป็นร่องก็ได้ เพื่อให้น้ำตกลงจากแปลงให้หมด และร่องนี้ยังใช้เป็นทางเดินระหว่างหว่านข้าว หว่านปุ๋ย และพ่นสารเคมีได้ตลอดแปลง โดยไม่ต้องเข้าไปในแปลงย่อย
การเตรียมเมล็ดพันธุ์ - ตรวจความบริสุทธิ์ของเมล็ดพันธุ์ พิจารณาว่ามีเมล็ดข้าวพันธุ์อื่นหรือเมล็ดวัชพืชปนหรือไม่ ไม่มีโรคหรือแมลงทำลาย รูปร่างเมล็ดมีความสม่ำเสมอ ถ้าพบว่ามีเมล็ดข้าวพันธุ์อื่นหรือเมล็ดวัชพืชปน หรือมีโรค แมลงทำลายก็ไม่ควรนำมาใช้ทำพันธุ์
- การทดสอบความงอก โดยการนำเมล็ดข้าว จำนวน 100 เมล็ด มาเพาะเพื่อดูเปอร์เซ็นต์ ความงอก อาจทำ 3-4 ซ้ำเพื่อความแน่นอน เมื่อรู้ว่าเมล็ดงอกกี่เปอร์เซ็นต์จะได้กะปริมาณพันธุ์ข้าวที่ใช้ได้ถูกต้อง
- คัดเมล็ดพันธุ์ให้ได้เมล็ดที่แข็งแรง มีน้ำหนักเมล็ดดีที่เรียกว่าข้าวเต็มเมล็ด จะได้ต้นข้าวที่เจริญเติบโตแข็งแรง อัตราเมล็ดพันธุ์
อัตราเมล็ดพันธุ์ที่ใช้ในการทำนาหว่านน้ำตม ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายประการ กล่าวคือ
ถ้ามีการเตรียมดินไว้ดี มีเทือกอ่อนนุ่ม พื้นดินปรับได้ระดับ เมล็ดที่ใช้เพียง 7-8 กิโลกรัมหรือ 1 ถังต่อไร่ ก็เพียงพอที่จะทำให้ได้ผลผลิตสูง แต่ถ้าพื้นที่ปรับได้ไม่ดี การระบายน้ำทำได้ยาก รวมถึงอาจมีการทำลายของนก หนู หลังจากหว่าน เมล็ดที่ใช้หว่านควรมากขึ้น เพื่อชดเชยการสูญเสีย ดังนั้นเมล็ดที่ใช้ควรเป็นไร่ละ 15-20 กิโลกรัม การหว่านควรหว่านให้สม่ำเสมอทั่วแปลง ข้าวจะได้รับธาตุอาหาร แสงแดด และเจริญเติบโตสม่ำเสมอกัน ทำให้ได้ผลผลิตสูง โดยเดินหว่านในร่องแคบๆ ที่ทำไว้ เมล็ดพันธุ์ที่ใช้หว่านแต่ละแปลงย่อย ควรแบ่งออกเป็นส่วนๆ ตามขนาดและจำนวนแปลงย่อย เพื่อเมล็ดข้าวที่หว่านลงไปจะได้สม่ำเสมอทั่วทั้งแปลง ในนาที่เป็นดินทรายมีตะกอนน้อยหลังจากทำเทือกแล้วควรหว่านทันที กักน้ำไว้หนึ่งคืนแล้วจึงระบายออก จะทำให้ข้าวงอกและจับดินดียิ่งขึ้น

การดูแลรักษา
การทำนาหว่านน้ำตม จะต้องมีการดูแลให้ต้นข้าวงอกดีโดยพิจารณาถึง

1. พันธุ์ข้าว การใช้พันธุ์ข้าวนาปีซึ่งมีลำต้นสูง ควรจะทำการหว่านข้าวให้ล่า ให้อายุข้าวจากหว่านถึงออกดอกประมาณ70-80 วัน เนื่องจากความยาวแสงจะลดลง จะทำให้ต้นข้าวเตี้ยลง เนื่องจากถูกจำกัดเวลาในการเจริญเติบโตทางต้นและทางใบ ทำให้ต้นข้าวแข็งขึ้นและไม่ล้มง่าย สำหรับข้าวที่ไม่ไวแสงหรือข้าวนาปรังไม่มีปัญหา เพียงแต่กะระยะให้เก็บเกี่ยวในระยะฝนทิ้งช่วง หรือหมดฝน หรือหลีกเลี่ยงไม่ให้ข้าวบางพันธุ์ เช่น ปทุมธานี 1 ออกดอกในฤดูหนาวเป็นต้น

2. ระดับน้ำ การจะผลผลิตข้าวให้ได้ผลผลิตสูงการควบคุมระดับน้ำเป็นสิ่งสำคัญ โดยเฉพาะตั้งแต่เริ่มหว่านจนข้าวแตกกอ ระดับน้ำไม่ควรเกิน 5 เซนติเมตร เมื่อข้าวแตกกอเต็มที่ ระดับน้ำอาจเพิ่มสูงขึ้นได้ เพื่อจะได้ไม่ต้องสูบน้ำบ่อยๆ แต่ไม่ควรเกิน 10 เซนติเมตร เพราะถ้าระดับน้ำสูงจะทำให้ต้นข้าวที่แตกกอเต็มที่แล้ว เพิ่มความสูงของต้น และความยาวของใบ โดยไม่ได้ประโยชน์อะไร เป็นเหตุให้ต้นข้าวล้ม เกิดการทำลายของโรคและแมลงได้ง่าย การใช้สารเคมีกำจัดวัชพืช วัชพืชเป็นปัญหาใหญ่ในการทำนาหว่าน้ำตม การปรับระดับพื้นที่ให้ราบเรียบสม่ำเสมอและการควบคุมระดับน้ำจะช่วยลดประชากรวัชพืชได้ส่วนหนึ่ง ถ้ายังมีวัชพืชในปริมาณสูงจำเป็นต้องใช้สารเคมี

การใส่ปุ๋ย ต้องใส่ปุ๋ยให้ถูกต้องตามระยะเวลาที่ข้าวต้องการ จำนวนที่พอเหมาะ จึงจะให้ผลคุ้มค่า
ระยะหลังข้าวงอก ให้ใช้ปุ๋ยสูตร 16-20-0 หรือ 16-16-8 อัตรา 50 กก.ผสม สาร ที-เอส-3000 15 กก. หว่านในอัตรา15 -20 กก. ต่อไร่ หลังจากหว่านปุ๋ยประมาณ 5 -7วัน ให้ฉีดพ่นด้วย ไฮ-แม็ก ในอัตรา 4 -5 ช้อนแกงผสมน้ำ 20 ลิตรฉีดพ่นในช่วงเย็น ระยะข้าวแตกกอ ในระยะแตกกอ ให้ใช้ปุ๋ยสูตร 20-20-0 หรือ 18-22-0 อัตรา 50 กก.ผสมสาร ที-เอส-3000 15 กก.หว่านในอัตรา 10-15 กก. ต่อไร่ หลังจากหว่านปุ๋ยประมาณ 5 -7วัน ให้ฉีดพ่นด้วย ไฮ-แม็ก ในอัตรา4 -5 ช้อนแกงผสมน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นในช่วงเย็น ระยะเริ่มตั้งท้องใช้ปุ๋ย สูตร 13-13-21 สลับ 15-15-15 หรือให้ผสมกันในอัตราอย่างละเท่ากันผสมสารที-เอส-3000ในอัตรา 15 กก.ต่อปุ๋ยเคมี 50 กก. หว่านในอัตรา 15-25 กก.ต่อไร่ หลังจากหว่านปุ๋ยประมาณ 5 -7วัน ให้ฉีดพ่นด้วย ไฮ-แม็ก ในอัตรา 4 -5 ช้อนแกง ผสมน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นในช่วงเย็น ในการฉีดพ่นทางใบในช่วงข้าวเริ่มตั้งทองควรทำให้เป็นละอองมากที่สุด


สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม หรือ สนใจสมัครสมาชิกได้ที่...
Call center : 083-0201780
e-mail : paulenashop@gmail.com

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น